CBD เป็นหนึ่งในสารประกอบหลายชนิดที่พบในพืชกัญชา และเป็นสารที่ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (non-psychoactive) จากการวิจัยพบว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและอาการข้างเคียงอื่น ๆ งานวิจัยในปี 2015* พบว่าสาร CBD มีปฏิสัมพันธ์กับตัวรับ cannabinoid type 1 (CB1R ที่พบในระบบประสาทส่วนกลางและตัวรับ 5- HT1Aหรือตัวรับสารเชโรโทนิน (serotonin) ในสมองที่ควบคุมความกลัวและพฤติกรรมที่เกิดจากความวิตกกังวล และพบหลักฐานจากการทดลองทางคลินิก (clinical evidence) ที่แสดงให้เห็นว่า
CBD เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการวิตกกังวล เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป ( Generalized anxiety disorder be- GAD), โรคผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง ( Post traumatic Stressed disorder- PTSD), โรคตื่นตระหนก ( Panic disorder – PD), โรคย้ำคิดย้ำทำ ( Obsessive compulsive disorder – OCD) และ โรควิตกกังวลทางสังคม ( Social anxiety disorder – SAD) การศึกษาพบว่า CBD สามารถทำปฏิกิริยากับตัวรับสารเชโรโทนิน
สารนี้เป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพจิตและการรักษาสมดุลของร่างกาย โดยเซโรโทนินส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทซึ่งจะช่วยควบคุมในเรื่องการนอนหลับ ความจำ พฤติกรรมทางสังคมและอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้ามักจะมีระดับสารเชโรโทนินที่ต่ำ การศึกษาพบว่า CBD ไม่สามารถเพิ่มระดับสารเชโรโทนินในสมอง แต่สามารถจับกับตัวรับซึ่งจะส่งผลต่อการตอบสนองของสมองต่อเซโร โทนินและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเซโรโทนินที่มีอยู่แล้วในระบบจากงานวิจัย 8 งานที่มีขึ้นในปี 2020 พบหลักฐานที่สนับสนุนว่าสามารถใช้ CBD เป็นยาเดี่ยวหรือร่วมกับยาอื่น ๆ ในการ
รักษาโรควิตกกังวลทั่วไป อย่างไรก็ตาม งานวิจัยแต่ละชิ้นมีการใช้ปริมาณ CBD ในการรักษาไม่เท่ากันและมีความแตกต่างด้านกลุ่มตัวอย่าง ปัจจุบันองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ยังไม่รับรอง CBD ในการรักษาความวิตกกังวล จึงมีความจำเป็นในอนาคตที่จะมีการศึกษาทางคลินิกขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพสูงเพื่อช่วยกำหนดแนวทางและมาตรฐานการใช้ยาสำหรับการรักษาด้วย CBD
Source: Medical News Today
*Blessings et al. (2015). Cannabidiol as a Potential
Treatment for Anxiety Disorders. Neurotherapeutics. 2015
Oct; 12(4): 825-836.