หลายคนเจอปัญหาแบบนี้ เริ่มต้นปลูกไม่เป็นเลย ปลูกกี่ต้นก็ตายหมด เคยได้ยินคนใกล้ตัวเล่าให้ฟังแบบนี้ว่า เจอคนป่วยในโรงพยาบาล กินไม่ได้นอนไม่หลับ คนเฝ้าก็ไม่ได้นอนพักผ่อนก็ป่วยกันทั้งสองคน ก็เลยมองว่าถ้ากัญชาสามารถช่วยผู้ป่วยให้กินข้าวได้ นอนหลับได้ ผู้ป่วยก็จะแข็งแรงแล้วก็สามารถกลับมาทำงานและอยู่กับครอบครัวได้ แต่พอได้ลงมือทำแล้วกลับไม่ใช่ มันมีอุปสรรค ที่มีทั้งข้อดี ข้อเสียของกัญชาอีกมาก
ปลูกกัญชา กัญชง รู้จักมากแค่ไหน
สายพันธุ์กัญชาหลักๆ มีอยู่ทั้งสิ้น 3 สายพันธุ์ คือ
ซาติวา (Sativa) ที่อยู่บริเวณประเทศเรา จะมีลักษณะใบเรียวยาวบาง สีเขียวอ่อน ต้นมีความสูงมาก โป่รง กิ่งและก้านยาว เพราะว่าภูมิอากาศบ้านเราร้อนต้องพยายามปรับตัวให้อยู่ในอากาศที่ร้อนให้ได้ เพื่อจะได้ผลิตผลผลิตออกมา ส่วนใหญ่สารที่มีในสายพันธุ์นี้คือ THC
อินดิกา (Indica) มีลักษณะใบที่หนา ต้นมีความเตี้ยและป้อม เกิดในพื้นที่ที่สูงกว่าประเทศไทยขึ้นไปเล็กน้อย อากาศที่เย็นขึ้นมานิดหน่อย สารในสายพันธุ์นี้คือ THC, CBD
รูเดอราลิส (Ruderalis) สายพันธุ์นี้เป็นกัญชาป่า
กัญชา 3 สายพันธุ์นี้ สามารถผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ได้ ในตอนนั้นผมศึกษาข้อมูลสายพันธุ์กัญชาจากเว็บไซต์ อย่างเช่น สายพันธุ์ บลูโอจี (Blue OG) เป็นสายพันธุ์ที่สายนันทนาการนิยม ปรากฏว่าตั้งต้นมาจากสายพันธุ์ไทย สิ่งที่ผมเห็นคือของจากประเทศเราที่โดนเขาเอาไปทำ น่าจะตั้งแต่ที่สายพันธุ์ ไทยสติก (Thai stick) กำลังโด่งดัง ในการผสมสายพันธุ์นั้นถ้าเราเอา ซันติวา กับ อินดิกา ผสมกัน จะเรียกว่า สายพันธุ์ ไฮบริด แต่ถ้าเอา รูเดอราลิส เข้ามาผสมด้วยก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง
ถ้า ซาติวา กับ อินดิกา เฉยๆ จะเรียก โฟโต้ พีเรียด (Photo–period) โฟโต้ที่แปลว่า แสง แสดงว่าพวกนี้อ่อนไหวง่ายกับแสง จะออกดอกตามชั่วโมงแสง ถ้าแสงชั่วโมงเยอะก็จะเป็นใบอย่างเดียว ถ้าลดชั่วโมงแสงลงได้ มันก็จะออกดอก สามารถชำกิ่งได้ อายุการเก็บเกี่ยวของสายพันธุ์นี้ ตั้งแต่ 5-9 เดือน ขึ้นอยู่กับชั่วโมงแสง
ออโต้ ฟลาวเวอร์ (Auto flowering) ก็คือ รูเดอราลิส ไปผสมกับ ซาติวา หรืออินดิกา จะได้สายพันธุ์ต้นที่เตี้ยลง ข้อดีของสายพันธุ์นี้ก็คือ ไม่จำเป็นต้องขึ้นกับชั่วโมงแสง จะให้แสง 20-24 ชั่วโมง ก็ได้ ก็ยังออกดอกเหมือนเดิม อายุการเก็บกี่ยวประมาณเพียงแค่ 2 เดือนครึ่ง ก็เก็บเกี่ยวผลผลิต แต่สายพันธุ์นี้ต้องได้จากเมล็ดของมันเท่านั้น
นี่คือ 2 ประเภทหลักๆ แล้วเราจะปลูกประเภทไหน ทุกคนเข้าใจว่าสารสำคัญในกัญชาอยู่ในใบ แต่จริงๆ อยู่ที่ปลายช่อดอก จากผลงานวิจัยบอกว่า ดอกที่อยู่บนสุดจะมีสารที่สูงกว่าดอกที่อยู่ข้างล่าง สารที่ว่าจะอยู่ข้างนอกเหมือนดอกเห็ด เรียกว่า ไตรโคม (Trichomes) เป็นบริเวณที่เก็บสะสมสารสำคัญในกัญชา แล้วสารกัญชาที่มันเก็บไว้ไม่ได้สกัดยากเลย เพราะมันอยู่ข้างนอก
การพัฒนาสายพันธุ์ทำอย่างไร
จากที่กล่าวว่า สามารถผสมสายพันธุ์ได้ ก็เพราะว่ากัญชา ก็เหมือนมนุษย์ มีผู้หญิง ผู้ชาย หรือเรียกกันว่าต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย และดูอย่างไรว่าเป็นเพศไหน ถ้าเป็นเพศเมียจะมีดอกแหลมๆ เกสรตัวเมียสองเส้น ช่วงเวลาที่จะแสดงเพศจะออกตามปล้อง ก่อนที่จะเป็นช่อใหญ่ ส่วนตัวผู้จะเป็นไข่กลมๆ เมื่อตัวผู้ที่โตแล้ว จะมีดอกใหญ่ๆ ขึ้นเป็นช่อ เมื่อแสดงเพศแล้ว รู้ว่าเป็นเพศผู้ให้ตัดทิ้ง ทำไมต้องตัดทิ้ง เพราะถ้าได้เมล็ด เมล็ดนั้นอาจทำให้สายพันธุ์นั้นเปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะมีเพศผู้และเพศเมียแล้ว มีเพศกะเทย (Banana) อีกด้วย จะมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียโผล่ออกมา ถ้าเอาไปผสมก็จะลดสารลงเหมือนกัน กัญชาแต่ละต้นแต่ละสายพันธุ์กินน้ำไม่เท่ากัน กินปุ๋ยไม่เท่ากัน มีสีดอกที่ไม่เหมือนกัน ในห้องวิจัย ปลูกครั้งแรก 47 สายพันธุ์ 82 ต้น พื้นที่ปลูก 6 x 7 ต้องเดินตรวจสอบทุกวัน ต้องสังเกตมากกว่าปกติ เพราะเราไม่มีความรู้ในการปลูก
ความแตกต่างของกัญชา และกัญชง
ต่างกันเพียงแค่ปริมาณสาร THC กัญชง ไม่สามารถดูที่ใบได้ ใบจะบอกแค่ว่าเป็น ซาติกา หรืออินดิกาเท่านั้น แต่สิ่งที่กฎหมายกำหนด คือ ถ้า THC ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชง ถ้าเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นกัญชา
กัญชงแบบไหนบ้างที่สามารถปลูกได้ ในประเทศมี 3 ประเภท คือ กัญชงที่ปลูกไว้เอาช่อดอก CBD ต่อมาคือกัญชงที่จะเอาเมล็ดมาบีบเอาน้ำมัน สุดท้าย ประเภทไฟเบอร์ ใช้เอาใบกิ่งก้าน อย. บอกว่า ห้ามปลูกกัญชงกับกัญชา ในรัศมี 10 กิโลเมตร เพราะว่า แบบที่เอาเมล็ดต้องมีตัวผู้ แบบที่เอาเส้นใยเขาก็ไม่ได้ดูตัวผู้ ตัวเมีย เพราะมันมีตัวผู้แน่นอน และขนาดเกสร ที่ขนาด 24 ไมครอน ของตัวผู้ มันจะปลิวไปไกลได้ประมาณ 10 กิโลเมตร
การปลูกกัญชง อย. บอกว่า สามารถเลือกปลูกได้ 6 แบบ คือ
1. ปลูกเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานรัฐ
2. ปลูกเพื่อตามประเพณี
3. ปลูกเพื่อเชิงพาณิชย์
4. ปลูกเพื่อการแพทย์
5. ปลูกเพื่อการศึกษา
6. ปลูกเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์รับรอง
ไม่ว่าจะเลือกปลูกแบบไหน ต้องมีแหล่งค้าขายที่ชัดเจน ให้ถูกต้อง ที่ อย. ออกกฎหมายนี้มาเพราะว่าถ้าล้นตลาด มันสามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้ แต่ถ้าเราสามารถบอกได้ว่ามีคนซื้อเราแน่นอน ก็สามารถปลูกได้ สรุปแล้วกัญชงถ้าจะปลูกก็ต้องขออนุญาตเหมือนกันกับกัญชา แต่ขอได้ง่ายกว่า ไม่ต้องมี CCTV ไม่ต้องมี Finger scan แต่ต้องมีรั้วรอบให้ปลอดภัย
หลักการลงมือปลูกจะปลูกแบบไหน
กลางแจ้ง (Out door) เนื่องจากเป็นระบบเปิด จำเป็นต้องซื้อหลอดไฟ การเจริญเติบโตเป็นไปตามธรรมชาติ ตามชั่วโมงแสง เงินทุนต่ำกว่า แต่ต้องระวังศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้ง ถ้าทำเป็นจะได้ปีละสองครั้งสูงสุด ต้นทุนน้อย แต่ความเสี่ยงสูง
โรงเรือน (In door) ต้องใช้หลอดไฟ หลอดไฟที่ผมใช้เป็นสปอตไลท์ ซึ่งแสงไม่พอ ได้เพียง 70 เปอร์เซ็นต์ ภายในโรงเรือนของผม ผมไม่สามารถปลูกพันธุ์ไทยได้เลย เพราะว่าชนเพดาน และแสงไม่พอ งานวิจัยของผมจึงนิยมเป็นสายพันธุ์ไฮบริด ข้อดีของห้องนี้คือ สามารถควบอุณหภูมิได้ด้วยเครื่องปรับอากาศ ควบคุมความชื้น ควบคุมซีโอทู แต่ควบคุมไรแดงไม่ได้ การปลูกแบบนี้สามารถกำหนดได้ว่า ปีละ 4-5 ครั้งได้เพราะเราควบคุมไฟได้ แต่ว่าข้อเสียคือ แพง ใช้ต้นทุนสูง
โรงเรือนกลางแจ้ง (Green house) การปลูกแบบนี้คือ เอาข้อดีของกลางแจ้งและโรงเรือนมารวมกัน มีหลังคาเป็นพลาสติกใสกันฝนได้ ใช้แสงอาทิตย์ ไม่ต้องซื้อหลอดไฟ แต่จะเกิดความร้อนจากกรีนเฮาส์เอฟเฟ็ก ต้องพยายามทำโรงเรือนให้เปิด หรือใส่พัดลมดูดอากาศ ถ้าความชื้นสูง ดอกจะขึ้นรา ต้องดูทิศทางลมอย่าทำให้โรงเรือนร้อน เน้นโปร่งเป็นหลัก
การลงมือปลูกกัญชาทำอย่างไร
ยกตัวอย่างการปลูกที่ 120 เมล็ด แน่ตอนเริ่มต้นจะต้องปลูกจากเมล็ด โดยส่วนใหญ่วิสาหกิจชุมชนต่างๆ จะได้เมล็ดที่ทำโครงการการแพทย์แผนไทย จะได้เมล็ดมา 120 เมล็ด และมาเพาะต่อ ซึ่งจำกัดมาก 120 เมล็ด ต้องแบ่งเพาะอีก 60 : 60
อาจจะมีปัญหาเป็นตัวผู้ด้วย เมล็ดไม่งอกอีก เมล็ดที่ดีเป็นอย่างไร
1.การเพาะเมล็ด (Germination)
3-7 วัน เมล็ดที่ดีต้องอวบแน่นสมบูรณ์ ผิวแข็งเรียบเนียน สีค่อนข้างไปทางน้ำตาลแก่ ขั้วแห้งสุก ไม่มีรอยปริแตก เมล็ดกัญชงกับกัญชาจะไม่เหมือนกัน กัญชง จะมีขนาดใหญ่กว่า ถ้าเรามีเมล็ดเยอะ หว่านไปได้เลยจะเกิดขึ้นเอง แต่ว่าเรามีปริมาณจำกัด ต้องใช้กรรไกรตัดเล็บตัดเปลือกออกเล็กน้อย เพื่อเร่งรากให้ออกไวขึ้น และนำไปแช่น้ำ น้ำที่ใส่แนะนำว่าถ้าไม่มีน้ำกลั่น ก็ใช้น้ำโพลาลิส ซึ่งน้ำที่ดีจะมีค่า PH 6.3 – 6.8 ต่อไปเป็นเครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า EC วัดปุ๋ย อันนี้ขาดไม่ได้ หลังจากแช่เมล็ดในน้ำ 2 ชั่วโมง ต้องไปเก็บในที่มืดและอุ่น ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง เมื่อครบแล้วหยิบกระดาษชำระมาใส่กล่อง ฉีดน้ำไปให้ชุ่มฉ่ำวางไว้ข้างๆ วางเมล็ดลงไป เอากระดาษมาปิดข้างบนอีกทีน้ำชุ่มเหมือนกัน
2. การอนุบาล (Seedling)
1-2 สัปดาห์ พอรากออกมาแล้ว ก็จะเริ่มเอารากลงดิน เอาลงวัสดุปลูก ส่วนใหญ่จะใช้พีทมอสส์ หรือโคโค่พีท ส่วนตัวผมใช้โคโค่พีทผสมพีทมอสส์ และก็ใส่เพอร์ไลต์ลงไปเล็กน้อย รดน้ำให้ชุ่มหลังจากนั้น ใช้ปากกาหรือตะเกียบจิ้มลงไปให้เป็นรู เอาเมล็ดที่มีรากลงไปฝังและรดน้ำให้ชุ่ม น้ำก็เหมือนเดิม ต้องเป็นน้ำที่มีกรดอ่อนๆ 6.3-68 วัสดุพวกนี้ที่ดีเพราะว่ามันต้องมีอาหารไม่มากตอนเล็กๆ ไม่จำเป็นต้องมีอาหารมากมาย ถ้าเราเก็บอนุบาลด้วยแสงหลอดไฟ อาจจะต้องมีแอปพลิเคชั่นไว้วัดค่าแสง 150-300 PPFD 18 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นแสงแดดธรรมชาติจะอันตราย ต้องมีการพรางแสงด้วยซาแรนและความชื้นด้วย ต้องไม่ให้รับแสงโดยตรง ไม่ให้ร้อนด้วย แล็บของผมเป็นแล็บที่ประหยัด กระถางที่ใช้ปลูก ผมก็ใช้แก้วกาแฟ มาเจาะก้นใส่พีทมอสส์ลงไปให้ต่ำกว่าแก้ว ประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วก็ทำรูปลูกลงไปแล้วฝัง ทำไม ต้อง 2-3 เซนติเมตร เพราะเวลาที่โตขึ้นมามันจะยาว เราจะถมวัสดุลงไปเรื่อยๆ จนถึงใบเลี้ยง
การเตรียมวัสดุปลูก
หลักการง่ายๆ ของวัสดุปลูกของผมง่ายๆ คือ ต้องร่วนซุย ชื้นแต่ไม่แฉะ PH 5.6-6.5 เป็นกรดนิดๆ วัสดุเป็นอะไรก็ได้ แต่อย่าให้มีพิษ ผมโดนถามบ่อยครั้งว่า ทำไมต้องใช้วัสดุปลูก ทำไมไม่ปลูกกลางแจ้งเหมือนในอดีต เพราะว่าดินในอดีตกับปัจจุบันไม่เหมือนกัน ผมจึงพยายามคิดวิธีปลูกโดยจะได้ดินหรือวัสดุปลูกโดยที่ไม่ต้องไปปลูกที่อื่น วัสดุปลูกผมก็หาความรู้จากอินเทอร์เน็ต
พีทมอสส์ (Peat moss) คือ ซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันเป็นเวลาหลายร้อยปี ซึ่งเราสามารถใช้ซากพืชของเราที่ทับถมกันได้ แล้วมันดีอย่างไร พวกนี้จะไม่ทำให้เกิดช่องว่าง อากาศไม่เข้าไปในดินจนทำให้ดินร่วนซุย เก็บความชื้นได้ดี อุ้มน้ำแต่ไม่แฉะมาก
เพอร์ไลต์ (Perlite) คือ หินภูเขาไฟเนื้อแก้ว สารที่มีน้ำหนักเบา มีความพรุนสูง และมีลักษณะคล้ายหิน รักษาความสมดุลระหว่างปริมาณน้ำและอากาศใต้ดิน คุณสมบัติฉนวนช่วยรักษาอุณหภูมิของดิน ช่วยดูดซึมสะสมยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และปุ๋ยเคมี
ขุยมะพร้าว คือ เปลือกมะพร้าวที่ปั่นเอาใยออก หรือปั่นให้ใยละเอียดเป็นขุยๆ ละเอียด ประมาณเม็ดทราย แห้งสนิท (ไม่ใช่เปลือกสับ) มีคุณสมบัติเบา อุ้มน้ำได้ดี และเก็บความชื้นได้นาน
หินพัมมิช (Pumice) เนื้อหินร่วน เม็ดคล้ายน้ำตาลทราย มีรูพรุนสูง พบปะปนหิน เพอร์ไลต์สีเขียว
เวอร์มิคูไลท์ ( Vermiculite) คือ แร่พบในรูป Aluminum Iron – Magnesium Silicate มีธาตุอาหารฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม น้ำหนักเบา เป็นกลาง ไม่ละลายน้ำ ดูดซับน้ำได้ดี
ปุ๋ยที่สำคัญกับกัญชาในช่วงที่ทำใบ คือ ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน (Vermicompost) คือ เป็นเศษซากอินทรียวัตถุต่างๆ รวมทั้งดินและจุลินทรีย์ที่ไส้เดือนเดินกินเข้าไปแล้วผ่านกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุเหล่านั้นภายในลำไส้ของไส้เดือนดิน แล้วจึงขับถ่ายเป็นมูล มีลักษณะร่วนละเอียด มีสีดำออกน้ำตาล โปร่งเบา มีความพรุน ระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก มีความจุความชื้นสูงและมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงมาก
มูลค้างคาว จะมีแร่ธาตุสูงแต่เหมาะช่วงทำดอก มูลค้างคาวจะมีสองแบบ คือแบบเก่าและใหม่ ต้องใช้แบบเก่าเท่านั้น
กระถางผ้า (Smart pot) คือ กระถางผ้า ระบายน้ำได้ดี ไม่ทำให้น้ำขังจนอาจจะเกิดรากเน่า มีน้ำหนักเบาอากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น และดูดซับสารอาหารได้มากขึ้นพืชเจริญเติบโตได้ดี
แอร์พอต (Air pot) คือกระถางพลาสติกที่มีรูรอบๆ กระถางทำให้ ระบายน้ำได้ดี อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น สามารถเปลี่ยนกระถางได้ง่ายมาก เพียงแกะตัวล็อกออกมา
ถ้าจะประยุกต์ใช้เข่งพอตก็ได้ เพราะราคาถูก หลักการเดียวกัน ใช้ได้เหมือนกัน หลักการง่ายๆ ให้ด้านข้างแลกเปลี่ยนความชื้นกับอากาศได้
3. ระยะเลี้ยงใบ (Vegetative)
4-8 สัปดาห์ ธาตุที่สำคัญก็คือ ไนรโตรเจน ระยะการสร้างราก กิ่งใบ ต้นประเภท Auto flowering ประมาณ 4-8 สัปดาห์ ควรเลือกไซซ์กระถางให้เหมาะสม รากไปไม่ได้ต้นจะชะงัก ต้นประเภท Photoperiod ขนาดกระถางจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาทำใบ เน้นปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลัก แนะนำปุ๋ยมูลไส้เดือน ฮอร์โมนไข่
ระยะทำใบ ให้เปิดแสงด้วยจะดีกว่า เพราะแสงบ้านเราสูงสุด 14 ชั่วโมง ถ้าอยากให้ต้นโตเร็ว ให้ใช้แสง 16-20 ชั่วโมง ความเข้มแสง 400-700 ppfd ช่วงเริ่มทำดอกต้องใส่ปุ๋ยที่เพิ่มฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมเข้าไป อยากให้ผลผลิตสูงต้องมีการจัดทรง โดยการเทรนด์นิ่ง หลักการคือเพียงแค่ว่าให้แต่ละกิ่งโดนแสงเท่าๆ กัน
การเทรนด์นิ่ง Topping คือการตัดตามข้อเอายอดไปเสียบชำได้
Fimming คือการตัดตรงยอดเลยสองวิธี ทำเพื่อไม่ให้ต้นสูง แต่จะทำให้ต้นออกข้างๆ
Low stress คือ การ Topping แล้วแตกกิ่งมา 2-3 กิ่ง แล้วดึงลง ก็จะได้ยอดเพิ่มขึ้นหลายๆ ยอด High Stress/supercoping ถ้ายอดไหนเจริญโตกว่ายอดอื่น ต้องหมุนๆ ให้มันแตกและพับหลบ และจะ
เจริญเติบโตช้ากว่าเพื่อน Lollipop คือ ข้างๆ จะมีใบเยอะ ทำให้อากาศไม่ถ่ายเท ไม่โดนแสงให้อากาศผ่านไปได้ อาจทำให้เกิดรา จึงต้องตัดต้นให้โปร่ง
Sea of green คือ การปลูกแบบถี่ๆ อย.ให้ปลูก 1 ตารางเมตร/ต้น แต่จะเป็นปลูกตารางเมตรละ 4 ต้น ข้างล่างไม่เอา เอาแต่ยอดบน แต่ปริมาณต้นต้อง แต่ อย.จะอนุมัติให้ไหมอีกเรื่อง ถ้าเรามีลูกค้าเยอะ อย่างไรก็อนุมัติ
Screen of Green (SCROG) คือ การใช้ตาข่ายเป็นตัวช่วย มีหน้าที่ 2 อย่าง ตอนใบเล็กกางกิ่งมันออกตาข่ายจะทำให้กิ่งมันกางออกตอนที่ต้นยังเล็กอยู่ ตอนทำดอกตาข่ายจะช่วยเหลือไม่ให้ดอกหัก ถ้าไม่ทำเทคนิคนี้ต้นไหนที่ดอกใหญ่ๆ ดอกอาจจะหักได้
ระยะนี้มีศัตรูที่ต้องระวังอะไรบ้าง
ช่วงทำใบเริ่มต้นจะเจอ เพลี้ยกระโดด พวกนี้จะกำจัดง่าย ใช้พวกน้ำส้มควันไม้ แช่สะเดาฉีด ก็จะหาย
แมลงหวี่ขาว จะเจอใต้ใบ ต้องเปิดที่ใต้ใบจะเจอแมลงหวี่จับอยู่ใต้ใบ ตอนฉีดยาก็ต้องฉีดใต้ใบ ไรแดง จะเจอหนักในช่วงทำดอก ดูง่ายๆ ถ้าบนใบมีจุดขาวๆ ก็ไปเลิกดูข้างล่าง จะเจอตัวเล็กๆ เหมือนแมงมุม ไรแดงจะกำจัดยากสักนิด เวลาไรแดงมา ต้องเอาต้นที่มีไปกำจัดที่อื่น กัญชาปลูกไม่ยาก แต่ว่าดูแลยาก
4. ระยะทำดอก (Flowering)
8-12 สัปดาห์ ระยะทำดอกถ้ามีต้นตัวผู้ ต้องเปลี่ยนแสงเปิด 12 ปิด 12 ช่วงที่เปลี่ยนแสงจะเริ่มแสดงเพศ ต้องการคนเดินดูเอาใจใส่ เจอตัวผู้เมื่อไรตัดเมื่อนั้น อย่าไปเก็บ เพราะสารมันจะหายไปเรื่อยๆ ระยะนี้จะต้องให้ปุ๋ยที่เป็นโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส มากขึ้น ที่บอกว่า เป็น NPK มีการพ่นฮอร์โมนไข่ ให้สาหร่ายแดง สาหร่ายสกัดทะเลลงไป แต่อย่าฉีดพ่นที่ดอก เพราะมันจะมีความชื้น ทำให้เกิดราเทา เพราะกัญชาเป็นพืชที่ดูดน้ำและปุ๋ยได้เร็วมาก แทนที่มันจะได้สารอาหารจากรากไปดูดไปหมด
พอถึงช่วยทำดอก ไรแดงจะเริ่มมาเยอะ ต้องใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน แมลงเต่าทอง พวกนี้จะมาช่วยกินไรแดง แมลงหวี่ขาวก็ยังอยู่ในช่วงนี้ ช่วงทำดอกอุณหภูมิต้องเย็น ลดความชื้น ถ้าไม่ลดราจะขึ้น ลดชั่วโมงแสง แต่เพิ่มความเข้มของแสง แสงเข้มไม่ร้อนไม่ชื้น
การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
ถ้าดูที่ไตรโคม ต้องเป็นสีขาวขุ่นและมีสีเหลืองอำพัน 20 เปอร์เซ็นต์ วิธีดูนี้เฉพาะพันธุ์ที่จะเอา THC
ผมใช้กล้องส่องพระในการดูไตรโคมว่าเก็บได้หรือยัง ต้องตรวจสอบทีละต้น ไม่สามารถดูเป็นแปลงได้ ก็สามารถดูได้ที่เกสรก็ได้ เกสรต้องแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือสีเหลือง ดูที่ไครโตม ไม่ได้สังเกตที่ใบร่วงหรือไม่ พอตัดต้นเสร็จเอาใบใหญ่ออกก่อน เพราะว่าตอนทำแห้งจะคายน้ำออกมากว่าดอกจะแห้ง ตัดใบใหญ่ออกและนำไปขาย แล้วค่อยนำดอกเอาไปแขวนไว้ให้แห้ง แขวนที่อุณหภูมิ 20 องศา ห้องมืด มีอากาศถ่ายเท อาจจะมีการใช้พัดลมเป่าช่วยเพื่อให้มันแห้งได้ทุกดอกทุกช่อ นี่คือ การทำแห้ง
ต่อจากการทำแห้ง ก็จะดรายทริม (Dry TRIM) คือการเอาใบเล็กๆ ที่อยู่ติดกับดอกออก เพราะเราต้องการสารที่สูง จึงไม่ต้องเอาใบไปด้วย เพราะสารภายในใบนั้นต่ำ
ขอบคุณข้อมูลจาก
technologychaoban.com
กระทรวงสาธารณะสุข
องค์การอาหารและยา
ganjaland.in.th